FET (Field-effect transistor)
ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าหรือเฟต ทํางานดวยหลักของการควบคุมดวยแรงดันไฟ (Voltage-Control) โดยการอาศัยคา แรงดันไฟระหวางขาเกต (Gate) ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงกระแสทางออกจังชันฟลดเอฟเฟคททรานซิสเตอรหรือเจ เฟท ควบคุมกระแสที่ไหลผานชองเดินกระแส (Channel) ดวยคาการรีเวิรสจังชัน
ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าหรือเฟต เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดพิเศษมีรอยต่อเดียว (Unipolar Devices) ทางานแตกต่างจากทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อ(BJTS) ตรงที่การควบคุมกระแสให้ไหลผ่านเฟต ควบคุมโดยป้อนแรงดันที่เกตของเฟต แรงดันเกตนี้จะทาหน้าที่ควบคุมปริมาณของสนามไฟฟ้าระหว่างรอยต่อให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อบังคับประมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านรอยต่อเฟตจึงได้ชื่อว่าทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า เฟตแบ่งออกตามลักษณะโครงสร้างใหญ่ๆ ได้ 4 ชนิดคือ JFET (Junction FET) และ MOSFET (Metal Oxide Semiconductor FET) ซึ่งจะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป ข้อดีของเฟตที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความต้านทานอินพุตมีค่าสูงมาก (เมกะโอห์ม)ทาให้สามารถใช้แรงดันเพียงเล็กน้อยควบคุมการทางานของเฟตได้
เฟตจะประกอบด้วยชั้นสารซิลิกอน N ซึ่งได้รับการแพร่ลงบนรอยต่อของชิ้นสารพีและเอ็นเฟตมีขาต่อใช้งาน 3 ขา คือ ขาเกท(gate), เดรน (drain) และซอร์ส (source) ระหว่างขาเดรนกับซอร์สจะได้รับไบแอสตรง ดังนั้นกระแสจะไหลจากขาเดรนไปยัง ขาซอร์สความสามารถในการนำกระแสของเฟตจะขึ้นอยู่กับแรงดันที่ขาเกทถ้าหากแรงดันที่เกทเป็นลบมากกระแสก็จะไหลน้อยและ ถ้าหากแรงดันที่ขาเกทเป็นลบถึงค่าหนึ่ง ก็จะทำให้ไม่มีกระแสเดรนไหลเลย แรงดันเกทที่ค่านั้นจะเรียกว่า แรงดันพิตช์ออฟ (pitchoff voltage) โดยปกติมีค่าประมาณ -5 โวลต์
ขอดีของ FET
1. มีอินพุตอิมพิแดนซที่สูงมากโดยที่ FET อยูในระดับ MΩ ถึง > 1000 MΩ ในขณะที่ BJT อยูใน ระดับkΩ
2. ไมมีแรงดันออฟเซ็ต (Offset Voltage) เมื่อทําหนาที่เปนสวิทช
3. คุณสมบัติหลักๆไมถูกผลกระทบจากการรังสีภายนอกมากนักในขณะที่คา beta ของ BJT ไดรับอิทธิพลจากรังสีตางๆคอนขางมาก
4. มีสัญญาณรบกวนต่ํามากเมื่อเทียบกับ BJT เนื่องจาก carrier ไมไดไหลผาน Junction เหมือน BJT จึงเหมาะกับการนําไปใชในการขยายสัญญาณขนาดเล็กๆ
5. เสถียรภาพทางอุณหภูมิที่ดีกวา BJT
6. มีโครงสรางที่เล็กกวา BJT ทําใหการผลิตเปนไอซีสามารถบรรจุ FET ไดจํานวนมากในพื้นที่เล็กๆ
6. มีโครงสรางที่เล็กกวา BJT ทําใหการผลิตเปนไอซีสามารถบรรจุ FET ไดจํานวนมากในพื้นที่เล็กๆ
ขอเสียของ FET
1. มีคา gain-bandwidth หรือการตอบสนองความถี่ต่ํากวา BJT ซึ่งทําใหการใชงานกับสัญญาณใน ดานความถี่สูงไมดีแตปจจุบันไดมีการผลิตเปน FET ที่สามารถใชงานความถี่สูงๆได
2. เสียหายไดงานจากไฟฟาสถิต
Junction Field-effect transistor (JFET)
JFET แบงออกเปน 2 ชนิดคือ NChannel และ P-Channel มีขาเพื่อการใชงาน 3 ขา คือ ขาเดรน (Drain) หรือขา D ขาซอรส (Source) หรือขา S และขาเกต (Gate) หรือขา G ซึ่งเปนการควบคุมการไหลของกระแสสรางมาจากสารชนิดพีมี 2 region ของเกตโอบ ลอมแชนแนลซึ่งเปนสารเอ็นเอาไวในขณะที่เจเฟทพีแชนแนลมีโครงสรางคลายกัน เพียงแตในสวนของเนื้อสารมี ความแตกตางกันเทานั้นเอง โดยเนื้อสารในสวนที่เปนทางไหลของกระแสตรงที่เรียกวาแชนแนลนั้นเปนสารชนิดพี สวนเกตเปนสารชนิดเอ็น
รูปที่ 1.1 โครงสร้างของเจเฟตชนิด n-channel และชนิด p-channel
รูปที่ 1.2 โครงสร้างสัญญาลักษณ์ของเจเฟตชนิด n-channel และชนิด p-channel
การทำงานของเจเฟต
จะทำงานได้โดยป้อนแรงดันไบแอสที่เดรนและซอร์สโดยแหล่งจ่าย VDD ให้ขั้วบวกกับเดรนและขั้วลบกับซอร์ส สำหรับเกตของเจเฟตจะให้ไบแอสกลับ โดยเจเฟตชนิด n-channel จะมีเกตเป็น p ดังนั้นแรงดันไบแอสที่เกตVGG ต้องให้ขั้วลบกับเกตและขั้วบวกกับซอร์ส ดังรูปที่ 1.3
รูปที่ 1.3 แสดงการไบแอสเจเฟต n-channel
การทำงานของเจเฟตนั้นเมื่อให้ไบแอสกลับที่เกต (VGS = VGG) ดังรูปที่ 1.4 จะเกิดสนามไฟฟ้าที่รอยต่อพี-เอ็นจำนวนหนึ่งทำให้ช่องทางเดินของกระแสในสาร n(n-channel) ระหว่างเดรนกับซอร์สแคบลง กระแสเดรน (ID)จะไหลจากเดรนไปสู่ซอร์สได้จำนวนหนึ่งถ้าปรับค่าแรงดัน VGS ให้มีค่าไบแอสกลับมานี้ ผลคือสนามไฟฟ้าที่รอยต่อจะมีปริมาณมากขึ้นทำให้ช่องทางเดินกระแสแคบลง เป็นผลให้กระแสเดรน(ID) มีปริมาณลดลง ดังรูปที่ 1.4 แต่ถ้าปรับค่าแรงดัน V ให้มีค่าไบแอสน้อยลงจะทำให้ช่องทางเดินของกระแสระหว่างเดรนกับซอร์สมีขนาด กว้างขึ้นทำให้กระแสเดรน (ID )ไหลได้มากขึ้น แสดงว่าสามารถควบคุมปริมาณกระแสเดรน( ID )ที่ไหลผ่านเจเฟตได้โดยการควบคุมแรงดันไบแอสกลับที่เกตของเจเฟต
รูปที่ 1.4 แสดงการใช้แรงดันไบแอสกลับที่เกต (VGS) ควบคุมการไหลของกระแสเดรน (ID)
สัญลักษณ์ของเจเฟต (JFET Symbols) สัญลักษณ์ของเจเฟตชนิดn-channel และชนิด p-channel แสดงในรูปที่ 1.5 สังเกตได้ว่าชนิด n-channelนั้นหัวลูกศรที่ขาเกตจะพุ่งเข้าแต่ชนิด p-channel หัวลูกศรที่ขาเกตจะพุ่งออก
รูปที่ 1.5 แสดงสัญลักษณ์ของเจเฟต
ลักษณะสมบัติและพารามิเตอร์ของเจเฟต
เพื่อศึกษาลักษณะสมบัติของเจเฟต ให้พิจารณารูปที่ 1.6 เพื่อไบแอสเจเฟตโดยต่อขั้วบวกของ VDD เข้าที่เดรน และต่อแรงดันที่เกตของเจเฟตให้มีค่า 0 โวลต์ (VGS = 0 V) จะมีกระแสไหลผ่านเจเฟตคงที่ค่าหนึ่งเรียกว่ากระแส IDSS (Drain to Source Current with Gate Shorted) ดังรูปที่ 1.6 ในย่านระหว่างจุด B และ C ของกราฟในรูป นี้ ถ้าปรับค่าแรงดัน VDDเพื่อให้ VDS เปลี่ยนแปลงไป กระแส ID ที่ไหลผ่านเดรนของเจเฟตจะคงที่ เราจึงเรียกการทำงานในย่าน BC นี้ว่าย่านกระแสคงที่ (Constant Current Region)
รูปที่ 1.6 แสดงลักษณะสมลัติของเดรนของเจเฟตเมื่อ VGS = 0 V
การไบแอสเจเฟต
การไบแอสตนเอง (Self-Bias) หมายถึงการไบแอสเกตของเจเฟตด้วยตัวต้านทาน RG ต่อลงจุดดิน นั้นคือ VG = 0 V ซึ่งปกติเจเฟตจะต้องได้รับไบแอสกลับที่เกต ในกรณีการไบแอสตนเองนี้ กระแส IGSS จะเป็นเพียงกระแสไหลซึ่งมีค่าน้อยมากการไบแอสตนเองของเจเฟตทั้งชนิด n-channel และชนิด p-channel แสดงในรูปที่ 1.7 และ เมื่อ VG = 0 V จะทำให้แรงดันตกคร่อม RG = 0 V เช่นกัน
รูปที่ 1.7 แสดงวงจร Self Bias ของเจเฟตชนิด n และ p-channel
เฟตชนิดออกไซด์ของโลหะ (มอสเฟต)
มอสเฟตแตกต่างจากเจเฟตที่โครงสร้างภายในเจเฟตนั้นระหว่างเกตกับช่องทางเดินกระแส(channel) มีโครงสร้างเป็นรอยต่อพี-เอ็น แต่มอสเฟตนั้นระหว่างเกตกับช่องทางเดินกระแสมีโครงสร้างเป็นชั้น (Layer) ของซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO4) มอสเฟตมี 4 ชนิดคือ มอสเฟตชนิดดีพลีทชัน (Depletion,D) และมอสเฟตชนิดเอนฮานซ์เมนต์ (Enhancement,E)
มอสเฟตชนิดดีพลีทชัน (Depletion MOSFET , D-MOSFET)
ถ้าเป็นชนิด n-channel ช่องทางเดินกระแสระหว่างเดรนและซอร์ส จะเป็นสารกึ่งตัวนาชนิด n และมีวัสดุฐานรอง (Substrate) เป็นสารกึ่งตัวนาชนิดตรงข้าม สำหรับ D-MOSFET ชนิด p-channel จะมีช่องทางเดินกระแสระหว่างเดรนและซอร์สเป็นสารชนิด p และมีวัสดุฐานรองเป็นสารชนิด n และมีเกตติดอยู่ระหว่างช่องทางเดินกระแส โดยมีซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO4) เป็นฉนวนกั้นระหว่างเกตกับช่องทางเดินกระแส
รูปที่ 1.8 แสดงโครงสร้างพื้นฐานของ D-MOSFET
รูปที่ 1.9 แสดงการทำงานของดีมอสเฟตชนิด n-channel
เอนฮานซ์เมนต์โหมด (Enhancement Mode)
เอนฮานซ์เมนต์โหมด (Enhancement Mode) คือการไบแอสเกตของดีมอสเฟตด้วยแรงดันบวก จะเห็นว่าที่เกตของดีมอสเฟตจะได้รับประจุบวกจากแหล่งจ่าย VGG ทาให้ในแชนเนลของดีมอสเฟตเป็นประจุลบ ทาให้ช่องทางเดินกระแสระหว่างเดรนกับซอร์สไม่มีประจุชนิดตรงข้ามกับแชนเนลคอยบีบแชนเนลให้แคบลง ทาให้กระแสเดรน (ID) ไหลได้จานวนมาก และถ้าให้ VGG = 0 V จะทาให้กระแสเดรน (ID) ไหลได้น้อยลงเพราะประจุลบในแชนเนลมีค่าลดลงเป็นศูนย์สัญลักษณ์ของดีมอสเฟตทั้งชนิด n-channel และชนิด p-channel
มอสเฟตชนิดเอนฮานซ์เมนต์นี้ทางานได้ในลักษณะ ของเอนฮานซ์เมนต์ฌหมดเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ไม่สามารถทางานในดีพลีทชันโหมดได้ โครงสร้างของอีมอสเฟตแตกต่างจากดีมอสเฟสตรงที่ช่องทางเดินกระแสของอีมอสเฟตจะถูกสร้างขึ้นโดยการไบแอสที่เกต ในสภาวะที่เกตไม่มีไบแอสจะไม่มีช่องทางเดินกระแสเชื่อมต่อระหว่างเดรนกับซอร์ส เป็นอีมอสเฟตชนิด n-channel จะเห็นว่าส่วนเดรนและซอร์สเป็นสารกึ่งตัวนาชนิดเอ็น (n-type) แต่ไม่มีแชนเนลต่อถึงกัน มีสารชนิดพีเป็นวัสดุฐานรองและระหว่างเกตกับวัสดุฐานรองมีซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO4) เป็นฉนวนกั้นกลาง
รูปที่ 1.10 แสดงโครงสร้างและการทำงานของ E-MOSFET
การทำงานของ E-MOSFET
การทำงานของอีมอสเฟตทำงานในเอนฮานซ์เมนต์โหมด ดังนั้นจึงต้องไบแอสด้วยแรงดันบวกจะเห็นว่าเมื่อเกตได้รับแรงดันบวกที่เพลทของเกตจะเกิดประจุบวก และวัสดุฐานรองของอีมอสเฟตจะเกิดประจุลบขั้นตามคุณลักษณะสมบัติของตัวเก็บ ประจุ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วทำให้ประจุลบเหนี่ยวนำขึ้นเป็นช่องทางเดินกระแส (Induce Channel) เชื่อมต่อระหว่างเดรนกับซอร์ส ทำให้กระแสเดรน (ID) สามารถไหลข้ามช่องทางเดินกระแสไปสู่ซอร์สได้ และจะไหลได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแรงดันไบแอสที่เกตของอีมอสเฟต เพราะชนาดของแชนเนลขึ้นอยู่กับขนาดของ VGG สัญลักษณ์ของอีมอสเฟตทั้งชนิด n-channel และชนิด p-channel
รูปที่ 1.11แสดงสัญลักษณ์ของ E-MOSFET
วีมอสเฟต (V-MOSFET) เป็นเอนฮานซ์เมนต์มอสเฟต (E-MOSFET)ชนิดหนึ่งที่ออกแบบให้สามารถทนค่ากระแสเดรนสูงๆ ได้ ใช้ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เช่น ในวงจรชอปเปอร์(Chopper) และอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เป็นต้น โครงสร้างของวีมอสเฟตแตกต่างจากอีมอสเฟต ตรงที่เกตของวีมอสเฟต ทำให้เป็นรูปตัววี (V) แทนที่จะเป็นเพลทตรงเหมือนกับอีมอสเฟต ความแตกต่างนี้
รูปที่ 1.12 แสดงการเปรียบเทียบโครงสร้างของอีมอสเฟต
รูปที่ 1.13 แสดงการเปรียบเทียบโครงสร้างของวีมอสเฟต
สาเหตุที่วีมอสเฟตมีโครงสร้างที่สามารถทนกระแสได้มากกว่าอีมอสเฟต เพราะว่าเมื่อช่องทางเดินกระแสเป็นรูปตัววี จะมีทางที่กว้างกว่าและยาวกว่าช่องทางเดินกระแสของอีมอสเฟต ซึ่งสั้นและแคลกว่า เป็นผลให้วีมอสเฟตมีอัตราการทนกระแสสูงกว่า มี Power Dissipation มากกว่า และตอบสนองความถี่สูงได้ดีกว่าอีมอสเฟต จึงนิยมนำไปทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์การสวิตซ์(Switching Device) ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
References
[1] เจน สงสมพันธุ์, "วงจรอิเล็กทรอนิกส์", สถาบันอิเล็กทรอนิกส์กรุงเทพรังสิต หน้า 281-295
[2] "การคำนวณวงจรทรานซิสเตอร์", หจก.สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซนเตอร์ หน้า 222-247
[3] http://sisketelectronics.blogspot.com/2012/07/v-behaviorurldefaultvmlo_9814.html
[4] https://sites.google.com/site/transmitterfet/home/thransistexr
[5] http://electronicspocketbook.blogspot.com/2014/01/jfet.html
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อ - นามสกุล : นายนฤดล กาตาสาย
รหัสนักศึกษา : 59543207013-3
มหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
NFL odds for teams to win super bowl 2022 1xbet 1xbet 1xbet korean 1xbet korean happyluke happyluke 8751Major League Soccer Odds | ThTopBet
ตอบลบ